วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 9 E-GOVERNMENT

Government




E-government หรือ รัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการคือ
     1. สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
     2. ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
     3. เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
     4. มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม

 E-government
     วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ และปรับปรุงการบริหารแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น

1. รัฐ กับ ประชาชน (G2B)
     เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรม โดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ

2. รัฐ กับ เอกชน (G2B)
     เป็นการให้บริการภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ

3. รัฐ กับ รัฐ (G2G)
     เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนเเปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน

4. รัฐ กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E)
     เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐกับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิต

ตัวอย่างโครงการ
การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาล
     เป็นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ บนระบบอินเตอร์เน็ตด้วยกิจกรรม
     - การตกลงราคา
     - การประกวดราคา
     - การจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ
     - การประมูล

วัตถุประสงค์การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (E-Procurement)
     - เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดจ้างสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
     - เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีไม่ว่าจะเป็นกระบวนการตรวจสอบและการเปิดเผยต่อสาธารณะชน
     - เพื่อประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายจากที่เดิมที่มักจะจัดซื้อจัดจ้างในราคาที่ค่อนข้างสูง

1.ระบบ E-Tending ระบบการยื่นประมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง กระบวนการสลับซับซ้อน

2.ระบบ E-Purchasing ระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย
     - ระบบ E-Shopping ระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าไม่สูง กระบวนการสลับซับซ้อนไม่มาก  การลงทุนเพื่อจัดทำระบบ E-Shopping จะมีความคุ้มทุนก็ต่อเมื่อมีความถี่ในการซื้อสินค้าบ่อยครั้ง
     - ระบบ E-Auction เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่มีมูลค่าสูงหรือประมาณมาก และมีกระบวนการดำเนินงานที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก




องค์ประกอบของ e-Government
1. ความพร้อมของผู้นำ
        เรื่องของ e-Government เป็นการทำงานที่จะต้องใช้การตัดสินใจของผู้บริหารประเทศในลักษณะของ Top down ในระดับสูง เนื่องจากต้องอาศัยการตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลง (Transformation) จำนวนมาก ทั้งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อแปลงงานจำนวนมากที่เคยทำด้วยมือ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ และผ่านระบบอินเทอร์เน็ต นอกจากนั้น ยังต้องการสนับสนุน คน เงิน งบประมาณ จำนวนเพียงพอ และต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานานดังนั้นการทำให้เกิด e-Government จะต้องได้รับการผลักดันจากผู้นำประเทศ ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง
2.ความพร้อมในเชิงโครงสร้างพื้นฐาน
        การทำให้เกิด e-Government จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเข้าถึงการให้บริการ โดยสามารถแยกออกได้เป็นความพร้อมของเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
          โครงข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม ที่พร้อมใช้เพื่อการสื่อสาร และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทั่วถึง และเท่าเทียม ในกรณีนี้รัฐจะต้องเร่งพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคมรวมถึงปัจจัยอื่นที่ทำให้กระแสสารสนเทศ (Flow of information) สามารถส่งไปถึงประชาชนอย่างทั่วถึง ในราคาที่เป็นธรรม
          ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ (Hardware and Software) ต้องมีอย่างพอเพียงเพื่อให้ทั้งภาครัฐ และประชาชนสามารถใช้เครื่องมือในการให้บริการของภาครัฐ และภาคประชาชนในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ที่รัฐจัดทำให้ ทั้งนี้ ฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น และภูมิประเทศ เช่น ตู้บริการสาธารณะ (Kiosk) และศูนย์โทรคมชุมชน (Tele Center) อาจจะใช้เป็นเครื่องมือที่รัฐสามารถจัดหาและส่งไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้
2.ความพร้อมในเชิงโครงสร้างพื้นฐาน (ต่อ)
        ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) ข้าราชการ และประชาชนจะต้องมีการพัฒนาทักษะ และเรียนรู้ที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานและการให้และการรับบริการ เพื่อให้เกิดผลแบบพลวัตรอันเกิดจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป (Dynamic)
          เนื้อหา และสื่อ (Content) จะต้องมีการพัฒนาเนื้อหา ที่เป็นภาษาไทย (Local Content) จะต้องมีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับเทคโนโลยี ทั้งนี้ทรัพยากรมนุษย์จำนวนมากจะต้องพัฒนาเพื่อปรับแต่งเนื้อหาที่ตรงตามสิ่งแวดล้อม และโครงสร้างของประเทศไทย
3. ความพร้อมของภาครัฐบาล
         วันนี้รัฐบาลไทยได้มีกฎกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเป็นเจ้าภาพในการประสานงาน (Collaboration) และบูรณาการ (Integration) เพื่อให้เกิด e-Government โดยเร็วนอกจากนั้นยังมีการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้นในระดับกระทรวงทุกกระทรวงเพื่อให้เป็นศูนย์กลางประสาท
สั่งการและศูนย์รวมข้อมูลข่าวสาร (Nerve Center , Ministry Operation Center - MOC) เพื่อที่จะดำเนินการรวบรวม และส่งข้อมูลข่าวสาร และการปฏิบัติการไปยังศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี (Prime Minister Operation Center - PMOC) ตลอดจนใช้ในการตัดสินใจและสั่งการของแต่ละกระทรวงอีกด้วย
          ภาครัฐในส่วนต่าง ๆ จะมีความพร้อม แต่อาจจะมีอุปสรรคบ้าง ซึ่งเป็นธรรมชาติของการพัฒนา e-Government ในทุกประเทศอยู่แล้ว แต่เนื่องจากได้รับการผลักดันจากผู้นำประเทศและผู้บริหารในระดับสูง ทำให้การให้บริการ e-Government มีความเป็นไปได้สูงที่จะประสบความสำเร็จ
4. ความพร้อมของประชาชนและสิ่งแวดล้อม
         ความสำเร็จของ e-Government ที่แท้จริงจะต้องมีเป้าหมายคือ ทำเพื่อประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ดังนั้น "ความสำเร็จของการออกแบบ e-Government คือ การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง" เนื่องจากประชาชนในประเทศไทยมีความแตกต่างกันมาก ทั้งในด้านของโอกาส และพื้นฐานการศึกษา ความหลากหลายดังกล่าวทำให้การบริการ เหมือน ๆ กัน ไม่สามารถกระจายสู่ประชาชนทุกกลุ่มได้เท่าเทียมกัน

ประเทศไทยแบ่งกลุ่มการให้บริการต่อประชาชนเป้าหมายออกเป็น กลุ่ม
1.            กลุ่มผู้มีความรู้ระดับสูง (Knowledge Worker) เป็นกลุ่มที่มีความสามารถทางปัญญา และมีโอกาสในการศึกษาสูงในประเทศ กลุ่มนี้เป็นประชากรที่มีความพร้อม และความคาดหวังสูงต่อการให้บริการ e-Government ของรัฐบาล ประมาณ 10 % ของประชาชน กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง และสามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยตรง และยังเป็นกลุ่มที่สามารถใช้บริการต่าง ๆ ที่ภาครัฐมีในโครงการ e-Government โดยไม่ต้องฝึกอบรมเพิ่มเติมแต่อย่างใด
2.            กลุ่มผู้มีความรู้ปานกลาง ได้แก่ ผู้ประกอบการ ขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ประชาชนทั่วไป ตลอดจนนิสิตนักศึกษา ประมาณ 30 % ของประชากรกลุ่มนี้อาจจะมีเครื่องมือเป็นของตนเอง หรือ สามารถเข้าถึงร้านอินเทอร์เน็ต หรือสถานที่บริการของรัฐในโครงการอินเทอร์เน็ตตำบลได้ กลุ่มนี้สามารถใช้การฝึกอบรมของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ใช้ตู้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ e-Government สาธารณะ และ การใช้บริการ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย ได้โดยตรง โดยที่อาจจะไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวก็ได้ นอกจากนั้น กลุ่มนี้ยังเป็นกลุ่มที่มีเครื่องโทรศัพท์ติดตามตัวจำนวนหนึ่ง ที่สามารถจะใช้ในการทำธุรกรรมทาง e-Government ได้อีกด้วย
3.            กลุ่มผู้มีความรู้น้อย และด้อยโอกาส เป็นผู้ที่มีรายได้น้อย การศึกษาน้อย มีโอกาสการเข้าถึงการศึกษา และมีโอกาสทางธุรกิจต่ำ พวกนี้ยังรวมไปถึงผู้ใช้แรงงาน คนพิการในรูปแบบต่าง ๆ และเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ในชนบทที่ห่างไกล ประเทศไทยมีคนกลุ่มนี้ประมาณ 60 % ของประชากร กลุ่มนี้จะเป็นพวกที่ตกอยู่ในเรื่องของ Digital Divide ซึ่งเป็นพวกที่ตกอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถหา ความรู้ และบริการ e-Government ที่รัฐบาลจัดทำให้ได้ โครงการ Tele Center และอินเทอร์เน็ตตำบล ที่จะลงไปยังชนบท และชุมชนต่าง ๆ ตลอดจน ตู้ Kiosk และที่ทำการไปรษณีย์ จะเป็นเครื่องมือในการลดช่องว่างทางดิจิตอลของประชาชนในกลุ่มนี้ได้

ประชาชนจะได้อะไร จาก E-government

- สร้างโอกาสให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการที่หลากหลายผ่านอินเทอร์เน็ต
- ประชาชนได้รับบริการจากรัฐที่ดีขึ้น
- รัฐให้ข้อมูลกับประชาชนได้ มากขึ้น
- ลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐ
- ลดความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ เพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 8 part2 E-marketing

Search Engine Marketing



รูปแบบของ Search Engine
1. Natural Search Engine Optimization (SEO)
2. Paid Search Advertising (Pay Per Click Advertising)

          
 Search Engine ทํางานยังไง ?




E-Mail Marketing การตลาดผ่านอีเมล์
1. สร้าง Mail Marketing ของตัวเอง
2. ไปยืมรายชื่อคนอื่นๆส่ง BlanketMail.com, Briefme.com, Colonize.com, MailCreations.com, TargetMails.com
3. ยิงมั่ว หรือ SPAM
4. ไปดูด Email จากแหล่งต่าง website, search engines, who is database

วิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์-Online
1. ส่ง MSN, ICQ หาเพื่อนๆ แล้วให้ส่งต่อ
2. โปรโมตธุรกิจบนเว็บบอร์ดหรือ Community ต่างๆ

รูปแบบรายได้จากการทําเว็บไซต์
1. ขายโฆษณาออนไลน์
2. ขายสินค้า E-Commerce
3. ขายบริการหรือสมาชิก
4. ขายข้อมูล (Content)
5. การจัดกิจกรรม, งาน
6. การให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ
7. การรับพัฒนาเว็บไซต์

ตัวอย่างโฆษณา Banner แบบต่างๆ


Audio text - IVR (Offline)


6 Cs กับความสําเร็จของการทําเว็บ
1.Content (ข้อมูล)
2.Community (ชุมชน,สังคม)
3.Commerce (การค้าขาย)
4.Customization (การปรับให้เหมาะสม)
5.Communication, Channel (การสื่อสารและช่องทาง)
6.Convenience (ความสะดวกสบาย)

บทที่ 8 part1 E-marketing




E-Marketing ย่อมาจากคําว่า Electronic Marketing หรือเรียกว่า “การตลาดอิเล็กทรอนิกส์” หมายถึงการดําเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ตางๆ ที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือพีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกนด้วยอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด การดําเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์ของโครงสร้างการทํา  E-marketing Plan 
1. Cost reduction and value chain efficiencies
2. Revenue generation
3. Channel partnership
4. Communications and branding

The e-marketing plan in the context of other plans

Distinguishing between e-marketing, e-business LOGO and e-commerce


ข้อดีของ E-Marketing เมื่อเทียบกับสื่ออื่น
1. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากกว่า 800 ล้านคน 225 ประเทศ 104 ภาษา
2. สามารถวัดผลได้แม่นยํากว่าสื่ออื่น
3. ราคาลงโฆษณาถูกกว่าเมื่อเทียบกับสื่ออื่น
4. จํานวนผู้ใช้สื่อนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
5. คุณภาพของผู้ใช้มีมากกว่าสื่ออื่น
Click and Click เป็นการให้บริการบนอินเทอร์เน็ตอยางเดียว ไม่มีธุรกิจในโลกจริง

Click and Mortar เป็นรูปแบบที่มีธุรกิจจริง (Real) อยู่แล้วแต่ขยายมาทําในอินเทอร์เน็ต
เปรียบเทียบกันระหว่าง 2 โมเดล

Click & Click

 ข้อดี                                                          
1. ต้นทุนต่ำใช้คนน้อย  (คนเดียวก็ทําได้)
2. เริมต้นได้ง่าย
3. เปิดกว้างมากกว่า
4.ไม่ต้องมีความชำนาญมาก ก็เริ่ มทําได้

ข้อเสีย
1. ขาดความชำนาญ 
2. สร้างฐานลูกค้าใหม่
3. รองรับลูกค้า Online ได้อย่างเดียว
4. ความน่าเชื่อถือน้อย

Click & Mortar

ข้อดี
1. มีความเชี่ยวชาญ 
2. มีลูกค้าอยู่แล้ว
3. น่าเชื่อถือ
4. รองรับลูกค้าได้ online และ Offline

ข้อเสีย
1. ต้นทุนสูง ใช้คนมาก
2. ใช้เวลาในการจัดทํา
3. การทํางานต้องยึดติดกับบริษัท

การเริ่มต้นการตลาดออนไลน์


1.กาหนดเป้าหมาย
2.ศึกษาคู่แข่ง
3.สร้างพันธมิตร
4.ติดตั้งอุปกรณ์ที่จําเป็ น
5.ดูแลและปรับปรุงเว็บไซต์

บทที่ 7 SCM, ERP, CRM

Supply Chain Management (SCM)
                    ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครื่อข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors  เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและ ความต้องการ

Supply Chain Illustration


Supply Chain for denim jeans


Supply Chain for denim jeans(cont.)

ขั้นตอนการวิวัฒนาการไปสู่ระบบการจัดการซัพพลายเชน
        การกําเนิดระบบการบริหารซัพพลายเชนกล่าวกันว่ามีต้นแบบมาจากการส่งลําเลียง เสบียงอาหารฃและอาวุธยุโธปกรณ์ตามระบบส่งกําลังบํารุงของทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามที่ต้องการความมั่นใจว่าอาวุธและเสบียงอาหาร จะต้องจัดส่งให้เพียงพอกับความต้องการและไปยังสถานที่ ที่กําหนดอย่างถูกต้องตรงเวลา เพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด จึงจําเป็นต้องอาศัยการ
วางแผนจัดลําดับก่อนหลังและรักษาประสิทธิภาพในการสื่อสารที่รวดเร็วและแม่นยํา
      ซึ่งต่อมาแนวความคิดดังกล่าวได้นํามาพัฒนาและดัดแปลงให้กับธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสร้างคุณค่าและความพึงพอใจแก่ลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง โดย Helen Peek และคณะได้
กล่าวถึงระยะของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อเข้าสู่กระบวนบริหารซัพพลายเชน 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน (The Baseline Organization)
เป็นรูปแบบการบริหารจัด การแบบดั้ งเดิมที่ต้องการสร้างผลกําไรสูงสุดขององค์กร โดยเน้นความชํานาญในการทํางานของแต่ละแผนก/ฝ่ายซึ่งองค์กรในรูปแบบนี้อาจไม่ สามารถปรับแผนการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดของ ผู้บริโภคเนื่องจากแต่ละแผนก/ฝ่ายต่างทํางานเป็นอิสระต่อกันไม่เกี่ยวกัน
ระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน (The Functionally Integrated Company)
ในระยะนี้ องค์กรจะเริ่มจัดตั้ งเป็นบริษัท โดยในองค์กรได้มีการรวบรวมหน้าที่/ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้าย คลึงกันไว้ในกลุ่มงาน/ฝ่ายเดียวกัน ซึ่งจะไม่มีแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากกันอย่างเด็ดขาดเหมือนระยะแรก เช่น ฝ่ายจัดการวัตถุดิบมีหน้าที่จัดซื อ จัดสรร ควบคุมการใช้วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ฝ่ายการผลิตมีหน้าที่วางแผนการผลิต และควบคุมคุณภาพการผลิต และฝ่ายขายมีหน้าที่วางแผนการตลาดและขายสินค้า เป็นต้น
ระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Internally Integrated Company)
ในระยะนี้องค์กรมีการ พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของตนอย่างต่อเนื่องจากระยะที่ 2 โดยฝ่ายต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทําให้มีการติดต่อประสานงานเชื่่อมโนงระหว่างฝ่าย งานมากขึ้ น การทํางานจึงมีความต่อเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่ นอกจากนั นกิจกรรมการผลิตบางอย่างยังสามารถที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรได้ ด้วย ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระดับหนึ่ง
ระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Externally Integrated Company)
ระยะนี้เป็นระยะที่ บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายเชนอย่างเต็มตัว โดยบริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเชนภายในบริษัทของตนเองไว้ เรียบร้อยแล้ว และเริ่มหันมาให้ความสําคัญกับกลยุทธ์การบริหารลูกโซ่อุปทานภายนอก โดยเข้าไปทํางานร่วมกับซัพพลายเออร์ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายการทํางานเดียว กัน เพื'อควบคุมคุณภาพการผลิตวัตถุดิบ คุณลักษณะของวัตถุดิบและวิธีการผลิตวัตถุดิบในโรงงานของซัพพลายเออร์และใน บางกรณีบริษัทผู้ผลิตอาจเปิดโอกาสซัพพลายเออร์เข้ามาเปิดสถานี หรือโรงงานย่อย เพื่อนําส่งวัตถุดิบให้กับริษัทได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัดต้นทุน
การบริหารจัดการซัพพลายเชน พิจารณาความสามารถในการประสานระบบงานระหว่างองค์กร
ใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่
1. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการระหว่างกลุ่ม suppliers (Supply-management interface capabilities)
2. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า (Demand-management interface capabilities)
3. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ (Information management capabilities)
ปัญหาของการจัดการซัพพลายเชน
1. ปัญหาจากการพยากรณ์
2. ปัญหาในกระบวนการผลิต
3. ปัญหาด้านคุณภาพ
4. ปัญหาในการส่งมอบสินค้า
5. ปัญหาด้านสารสนเทศ
6. ปัญหาจากลูกค้า
                                                       Bullwhip Effect

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) หรือในบางครั้งเรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 
(e-Commerce)  เป็นการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการทางธุรกิจและการดําเนินงาน ระหว่างธุรกิจกับธุรกิจและระหว่างบุคคลกับธุรกิจ ในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) จะมีการทําธุรกรรมผ่านสื่อต่างๆ ทางอิเล็กส์ทรอนิกส์ เช่น การสั่งซื อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ

การใช้บาร์โค้ด (Bar code) บาร์ โค้ดหรือรหัสแท่ง เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่งบาร์ โดยจะประกอบไปด้วยบาร์ที่มีสีเข้มและช่องว่างสีอ่อน ซึ่งบาร์เหล่านี้ จะเป็นตัวแทนของตัวเลขและตัวอักษร สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Scanner  บาร์โค้ดจึงทําหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของสินค้า อาทิ หมายเลขของสินค้า ครั้งที่ทําการผลิต เลขหมายเรียงลําดับกล่องเพื่อการขนส่ง ปริมาณสินค้าที่ผลิต รวมถึงตําแหน่งผู้รับสินค้า เป็นต้น เพื่อให้สามารถควบคุมการหมุนเวียนของสินค้าโดยรวดเร็วขึ้นไม่ว่าจะเป็นการ รับ การจัดเก็บและการจ่ายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับว่ามีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันและที่สําคัญการติดบาร์โค้ดถือเป็นส่วน หนึ่งในการสนับสนุนให้เกิดการจัดการซัพพลายเชน ลดระยะเวลาและความซํ าซ้อนในการทํางาน


การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI : Electronic Data Interchange) เป็น เทคโนโลยีอีกประการหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการซัพพลายเชน เป็นระบบถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่อง หนึ่งในรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ โดยรูปแบบข่าวสารข้อมูลนั้นจะมีการจัดรูปแบบและมีความเป็นมาตรฐานเดียวกัน ตามที่ได้ตกลงกันไว้ เรียกว่า EDI Message ผ่านเครือข่ายการสื่่อสาร (Telecommunication Network) ทําให้เพิ่มความถูกต้องและรวดเร็วในการทํางาน

การใช้ซอฟแวร์ Application SCM การ นําซอฟแวร์มาพัฒนาและประยุกต์ใช้งานในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นซอฟแวร์ที่จัดเป็นระบบศูนย์กลางขององค์กรทั้ งหมด ทําหน้าที่ประสานงานหลักๆ ในด้านต่างๆ เช่น การเงิน การผลิต และการจัดคลังสินค้า
        Advance Planning and Scheduling จัดสร้างแผนการผลิตและจัดตารางเวลาโรงงานการผลิต ใช้เงื่อนไขข้อจํากัดและกฎเกณฑ์ทางธุรกิจในการปรับตารางให้ดีที่สุด
       Inventory Planning วางแผนคลังสินค้าที่จําเป็นในแต่ละจุดเพื่อกระจายการจัดส่ง เพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาด
       Customer Asset Management ใช้สําหรับจัดระบบการสื่อสารโต้ตอบกับลูกค้ารวมทั้งระบบขายอัตโนมัติและการให้บริการลูกค้า เป็นต้น
       ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตระบบ ERP หลักๆ มีอยู่ 5 รายด้วยกัน คือ SAP, ORACLE, Peoplesoft, J.D. Edwards และ Baan

ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) เป็น เทคโนโลยีบริหารกระบวนการธุรกิจโดยเฉพาะการเชื่อมโยง SCM โดยเน้นการบูรณาการกระบวนการหลักของธุรกิจเพื่อสนับสนุนการดําเนินธุรกรรม ประจําวัน และยังสนับสนุนกระบวนการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)

ระบบ CRM (Customer Relationship Management) เป็น กลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่งที่องค์กรนํามาใช้เพื่อบริหารความสัมพันธ์ของ ลูกค้ากับองค์กรตลอดวงจรชีวิตการเป็นลูกค้า ได้แก่ การตลาด การขาย การให้บริการ และการสนับสนุน โดยใช้ทรัพยากรด้านสารสนเทศ กระบวนการ เทคโนโลยี และบุคลากร โดยเน้นการสร้างประสานสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ demain chain management  ผ่านการจัดโปรแกรมเพื่อจูงใจลูกค้า เช่น การสะสมคะแนน การให้บริการตอบคําถาม (call center)  การให้สิทธิประโยชน์ หรือส่วนลดต่างๆ เป็นต้น

บทที่ 6 Supply chain management


Supply Chain Management การ จัดการกลุ่มของกิจกรรมงาน กลาวคือ ตั้งแต่การรับวัตถุดิบมาจาก Supplies แล้วเปลียนวัตถุดิบนั้ นให้เป็นสินค้าขั้นกลาง และสินค้าขั้ นสุดท้าย จนกระทั่งจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า

สิ่งที่จะทําให้เข้าใจ ถึงหน้าที่ของการผลิตและวิธีการควบคุมการผลิตนั้ น เราจะต้องเข้าใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในกระบวนการผลิตอยู่ 2 สิ่งหลักๆ คือ
1. วัตถุดิบ (Materials)
2. สารสนเทศ (Information)

รูปแสดงการเคลื่อนไหวของวัตถุดิบและสารสนเทศ ซึ่งมีอยู่ในกระบวนการผลิตทุกแห่ง

ปัญหาคือความสนใจที่แต่กต่างกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น
- ลูกค้ามักต้องการสินค้าที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบและมีราคาถูก
- พนักงานในสายการผลิตอยากรู้คําสั่งที่ถูกต้อง
- ฝ่ ายจัดซื้อต้องการได้วัตถุดิบที่ถูกต้อง มีคุณภาพ
- ผู้จําหน่ายวัตถุดิบต้องการคําสั่งซื้ อที่ถูกต้องเพื่อจะได้จัดส่งได้ถูกต้อง
- ผู้จัดการต้องการรายงานที่ถูกต้อง
The benefits of supply chain management


Realization of benefits



ประโยชน์ของการทํา SCM
1. การเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น
2. ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ
3. เพิ่มความเร็วได้มากขึ้ น
4. ขจัดความสิ้นเปลืองหรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดไปได้
5. ลดต้นทุนในกิจกรรมต่างๆ ได้
6. ปรับปรุงการบริการลูกค้า
การบูรณาการในห่วงโซ่อุปทาน LOGO(Supply Chain Integration)
-  การบูรณาการกระบวนการภายในทางธุรกิจให้เป็นแบบไร้รอยตะเข็บ ไร้ความสูญเสีย  
และมีความยืดหยุน ใช้นโยบายการทํางานแบบข้ามสายงาน ลด กระบวนการและ
ขั้ นตอนการทํางานที่ไม่จําเป็น 
-  การบูรณาการกับกระบวนการภายนอก   นั่นคือบูรณาการกับกระบวนการของลูกค้าที่สําคัญและ
ผู้จัดหาวัตถุดิบที่สําคัญให้เข้ากับกระบวนการภายในของบริษัท อย่างมีประสิทธิภาพ 
และไร้รอยตะเข็บซึ่งจะสร้างผลให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อยางยืดหยุ่น
 และ รวดเร็ว ขณะที่ต้นทุนลดตํ่าลง
-  การบูรณาการทางเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ  เพื่อให้การแลกเปลี่ยน
และประสานข้อมูลข่าวสารภายในองค์กรและระหว่างองค์กรเป็นไปอย่าง ถูกต้อง 
รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีที่นิยมใช้กันได้แก่ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ 
(E-bussiness) การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Data Interchange-EDI) การส่งจดหมาย
ทางอิเล็กทรอนิกส์(E-Mail) บาร์โค้ด(Bar Code) การชี้บ่งตําแหน่ง
ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(Radio Frequency IdentificationRFID) อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ซอฟท์แวร์การวางแผนทรัพยากรวิสาหกิจ (Enterprise Resource Planning-ERP) เป็นต้น

Value Chain ห่วงโซ่คุณค่า
วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ยี่เป็งของฉัน 2556


งานลอยกระทง ประจำปี 2556




งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง ประจำปี 2556




เทศบาลเมืองตาก ได้ร่วมกับจังหวัดตาก องค์การบริการส่วนจังหวัดตาก และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประจำปี 2556 ในระหว่างวันที่ 15-20 พฤศจิกายน 2556 ณ บริเวณริมสายธารลานกระทงสาย เชิงสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี อำเภอเมือง จังหวัดตาก

            นายชลิต ธนโชควณิช รองนายกเทศมนตรีเมืองตาก เปิดเผยว่า ด้วยเทศบาลเมืองตากเป็นหน่วยงานที่จัดประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ถือได้ว่าเป็นประเพณีที่มีความเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นและเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชาวจังหวัดตาก เพื่อเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีอันดีงาม สร้างความสามัคคีในการร่วมแรงร่วมใจในชุมชน

          อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของจังหวัดตากให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ อันนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่ก่อให้เกิดอาชีพและเพิ่มการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในจังหวัดตากด้วย โดยให้นักท่องเที่ยวและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองตากให้เป็นที่แพร่หลายและมีชื่อเสียงมาขึ้นสืบไป ดังนั้น เทศบาลเมืองตากจึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่สนใจร่วมงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง ประจำปี 2556 ได้ตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว

พิธีลอยกระทงสายไหลประทีป













ลักษณะของกระทงสายไหลประทีป







สะพานแขวน จ.ตาก



งานปล่อยโคม










รวมรูปวันลอยกระทง